รวม 4 พฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมที่คุณควรเลี่ยงก่อนสาย!

May 17, 2023

ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

รวม 4 พฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมที่คุณควรเลี่ยงก่อนสาย!

โพสใน

อาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ เป็นอาการปวดเมื่อยที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ประมาณวันละ 7- 8 ชั่วโมง

เพื่อลดการเกิดอาการดังกล่าว และป้องกันไม่ให้นำไปสู่การเป็นโรคยอดฮิตอย่างออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) Siam Okamura ได้รวบรวม 4 พฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อย พร้อมวิธีแก้มาให้แล้ว

4 พฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมที่คุณควรเลี่ยง

สำหรับใครที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง คอ บ่า และไหล่บ่อย ๆ คุณอาจทำพฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว จะมีพฤติกรรมอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

1. ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อยที่สุด

ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม

การที่เราต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ในบางครั้งก็อาจเผลอนั่งทำงานด้วยท่าที่ชอบทำ หรือท่าที่คิดว่าสบายกว่า เช่น นั่งไขว้ห่าง นั่งหลังคอม หรือยกไหล่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งการที่เรานั่งทำงานท่าทางที่ไม่ถูกต้องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ในทุก ๆ วัน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวยึดเกร็ง เกิดอาการปวด และอักเสบตามมา อีกทั้งยังทำให้เสียบุคลิกภาพอีกด้วย

ควรแก้ไขอย่างไรดี?

คุณสามารถแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้ง่าย ๆ โดยการนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ถูกต้อง ได้แก่

  • นั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น หลังตั้งตรง หรือพิงพนักเก้าอี้เล็กน้อย และเท้าวางราบกับพื้น
  • เข่าและสะโพกต้องตั้งฉาก 90 องศา
  • ข้อมือและแขนอยู่ระนาบเดียวกันกับแป้นพิมพ์และเมาส์ โดยที่ไหล่ไม่ยก
  • สายตาพอดีกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ศีรษะตั้งตรง โดยที่ไม่ต้องก้ม หรือเงย

 

การที่เราจะสามารถนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ถูกต้องนี้ได้ สิ่งสำคัญเลยก็คือ โต๊ะทำงานและเก้าอี้ทำงานจะต้องออกแบบมาอย่างเหมาะสมและเอื้ออำนวยให้เรานั่งทำงานด้วยท่าทางที่ถูกต้องได้ด้วย ซึ่งที่ Siam Okamura เรามีโต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ Ergonomic รุ่น SW ที่สามารถปรับระดับความสูงได้ และเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพหลากหลายรุ่นให้คุณเลือกใช้ได้ตามความชอบเลย

 

2. การนั่งคลิกเมาส์ท่าเดิมเป็นเวลานาน

การนั่งคลิกเมาส์ท่าเดิมเป็นเวลานาน

รูปทรงของเมาส์ที่ใช้งานในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้คนจับและคลิกเมาส์ด้วยท่าทางที่ถูกต้อง เพราะจะต้องคว่ำมือจับตลอดเวลา ซึ่งการที่เราต้องจับเมาส์ด้วยท่านี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลา ต้องเกร็งนิ้วมือและข้อมือตลอดทั้งวันโดยที่ไม่ได้พัก ก็อาจทำให้เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่นิ้วมือยึดเกร็ง จนนำไปสู่การเกิดอาการเจ็บและชาตามฝ่ามือ เส้นเอ็นอักเสบ และนิ้วล็อกได้นั่นเอง

ควรแก้ไขอย่างไรดี?

ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ เพียงแค่เปลี่ยนไปใช้เมาส์ Ergonomic ซึ่งเป็นเมาส์ที่ออกแบบมาตามหลักการยศาสตร์ ที่จะช่วยให้เราจับเมาส์ในท่าทางที่เหมาะสม ร่วมกับหมั่นบริหารและยืดเหยียดเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือและแขนเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเอ็นนิ้วมืออักเสบ หรือภาวะนิ้วล็อกได้มาก

 

3. การจ้องจอคอมเป็นเวลานาน

การจ้องจอคอมเป็นเวลานาน

การจ้องจอคอมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยที่ไม่มีการพักสายตา เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของอาการออฟฟิศซินโดรม โดยเฉพาะในคนที่หลังเลิกงานแล้วก็ยังไปจ้องสมาร์ตโฟนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่เราทำพฤติกรรมเหล่านี้บ่อย ๆ ในระยะยาวจะส่งผลเสียต่อสุขภาพตา ทำให้เกิดอาการตาล้า ตาเบลอ ปวดตา และอาจรุนแรงไปจนถึงขึ้นปวดหัวได้เลย

ควรแก้ไขอย่างไรดี?

อาการตาล้าจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นั้น สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ โดยการพักสายตาทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง แล้วมองไปที่จุดโฟกัสไกล ๆ หรือมองวิวที่มีสีเขียว เป็นระยะเวลา 1 นาที ก็จะช่วยคลายความปวดเมื่อยของดวงตาได้

นอกจากการพักสายตาแล้ว คุณควรให้ความสำคัญกับแสงสว่างในที่ทำงาน จะต้องทำงานในที่ที่มีแสงสว่างพอดี ไม่มืด หรือสว่างจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการจ้องจอสมาร์ตโฟนหลังเลิกงานตลอดทั้งวัน หากไม่รู้จะทำอะไรดี แนะนำให้หากิจกรรมเสริมอื่น ๆ มาทำ เช่น อ่านหนังสือ ทำอาหาร หรือออกกำลังกาย ก็จะช่วยลดการใช้งานสายตาหนักได้มาก

 

4. ความเครียดสะสม พฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมที่หลายคนไม่รู้

ความเครียดสะสม

ความเครียด เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและสุขภาพของเราได้มาก โดยเฉพาะในคนที่มีความเครียดมาก ๆ และไม่สามารถจัดการความเครียดได้ ซึ่งการที่เรามีความเครียดสะสมตลอดเป็นประจำทุกวันจะนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคได้มากมาย เช่น ภาวะต่อมหมวกไตล้า นอนไม่หลับ ไมเกรน ออฟฟิศซินโดรม โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเครียดลงกระเพาะ เป็นต้น

ควรแก้ไขอย่างไรดี?

สำหรับคนที่มีความเครียดสะสมเยอะ ๆ ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน หรือปัญหาจากในครอบครัว แนะนำให้ลองหากิจกรรม หรืองานอดิเรกมาทำเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับร่างกาย เช่น ไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย หรือทำอาหาร อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถจัดการความเครียดได้ด้วยวิธีการเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองจะดีที่สุด

จะเห็นได้ว่า 4 พฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมที่เรานำมาแนะนำในบทความนี้ เป็นพฤติกรรมทั่วไปที่หลายคนอาจเผลอทำโดยไม่รู้ตัว หากคุณพบว่าตนเองมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรที่จะฝืนทำต่อไป เพราะอาจทำให้เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม หรือโรคอื่น ๆ ตามมาได้

Tags: