การจัดโต๊ะทำงานจะช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรม

March 5, 2024

ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

การจัดโต๊ะทำงานจะช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรม

โพสใน

เวลาขับรถยนต์ ทุกคนมักจะปรับตำแหน่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงปรับเบาะให้สูงและต่ำ เพื่อเพิ่มการมองเห็นที่ชัดเจน เช่นเดียวกับการทำงานที่ต้องจัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้อยู่ในระดับสายตา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และจะช่วยลดอาการตึง คอ บ่า ไหล่ ที่จะเกิดตามมาจนกลายเป็น ออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย และการจัดโต๊ะอย่างไรถึงจะห่างไกลออฟฟิศซินโดรม ไปดูวิธีจัดกันค่ะ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม

2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม

ปัจจัยของการเกิดออฟฟิศซินโดรมนั้นมาจาก การทำอะไรต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ และไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายส่วนนั้นเกิดอาการตึง เช่น การนั่งอยู่หน้าจอคอมนาน ๆ ไม่ลุกไปไหน หรือ การยืนหลังค่อมไหล่ห่ออยู่ตลอดเวลา ซึ่งออฟฟิศซินโดรมเกิดได้ทุกท่วงท่า หากมีการทำท่านั้นอย่างต่อเนื่อง การจัดโต๊ะทำงานจึงมีความสำคัญมาก

อาการของออฟฟิศซินโดรม

อาการที่พบบ่อยนั้นมักจะปวดบริเวณที่อยู่ท่านั้นนาน ๆ เช่น ปวดคอ เพราะก้มมากไป ปวดบ่า เนื่องจากมีการยกของเป็นเวลานาน ๆ ส่วนใหญ่จะพบในบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ข้อมือ เนื่องจากเป็นบริเวณที่เราใช้เป็นประจำทุกวัน สามารถแก้ไขได้ด้วยการลุกขึ้นมายืดกล้ามเนื้อ ให้บริเวณนั้นผ่อนคลายมากขึ้น

จัดโต๊ะทำงานให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม

3 จัดโต๊ะทำงานให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม

นอกจากวิธีการบริหารร่างกายแล้ว การจัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับตัวเอง ก็สามารถช่วยลด อาการออฟฟิศซินโดรมได้ เพราะการจัดโต๊ะจะช่วยซัพพอร์ต พวกข้อต่อ คอ บ่า ไหล่ ให้อยู่ในท่วงท่าที่ผ่อนคลาย ทำให้เวลาทำงานลื่นไหลมากขึ้น ไม่รู้สึกรำคาญหรือกวนใจเวลาที่นั่งไม่สบาย และสิ่งที่ต้องจัดการให้เหมาะสมกับตัวเองนั้น มีเพียง 5 สิ่ง ดังนี้

1. จอภาพ

จอภาพควรอยู่ในระดับสายตา ไม่ต่ำไปหรือสูงไป หากเป็นเช่นนั้นก็จะเกิดอาการปวดคอตามมาได้ ควรให้จอภาพอยู่ห่างจากตัวประมาณ 3 ฟุต ความต่ำอยู่ประมาณระดับสายตา 5 นิ้ว นอกจากนี้ควรใช้จอกรองแสงเพื่อป้องกันรังสีที่มากระทบดวงตาของเรา

2. เก้าอี้

จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะแล้ว เก้าอี้ควรเป็นเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงคอ แผ่นหลัง จนถึงเบาะนั่ง ที่โอบรับทั้งตัว เพื่อซัพพอร์ตตั้งแต่ ช่วงคอไปจนถึงสะโพก ข้อเข่าและข้อเท้า และที่เท้าแขนสามารถพยุงแขนขณะพิมพ์ได้

3. คีย์บอร์ด

ควรวางในตำแหน่งที่เหมาะสมกับช่วงไหล่ ไม่ให้ห่างเกินไป ไม่งั้นจะปวดไหล่เอาได้ ต้องให้ความรู้สึกว่ามือที่กำลังพิมพ์นั้น ไม่รู้สึกเกร็งไหล่ขึ้นมา

4. โต๊ะทำงาน

จัดโต๊ะทำงานควรต่ำกว่าตัวเล็กน้อย ถ้าให้ดีสามารถใช้โต๊ะไฟฟ้าเพื่อปรับระดับในการใช้งานได้หลายฟังก์ชัน เพราะหากนั่งนานเกินไปก็จะเกิดอาการปวดตัวขึ้นได้ การนั่งทำงานจะต้องลุกทุก 25 นาทีเป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นโต๊ะทำงานไฟฟ้าถึงตอบโจทย์ที่สุด

5. ที่วางเท้า

ควรเป็นที่วางเท้าแบบไม่ลื่น แข็งแรง ทนทาน และมีขนาดใหญ่พอสำหรับการวางเท้า

โต๊ะทำงานจาก Siam Okamura ช่วยให้คุณห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม

4 โต๊ะทำงานจาก Siam Okamura ช่วยให้คุณห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม

ดังที่กล่าวมา ทาง Siam Okamura มีอุปกรณ์ครบครัน ในการเลือกสรรเพื่อนำไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้หลากหลายสไตล์ โต๊ะไฟฟ้าปรับได้ตามใจชอบ ทั้งนี้ เรายังมีบริการออกแบบโต๊ะเก้าอี้ สำหรับออฟฟิศที่ต้องการความเฉพาะตัวและเป็นเอกลักษณ์ เพราะดีไซน์มีความทันสมัย เรียบ หรู เหมาะกับออฟฟิศทุกรูปแบบ

สรุปบทความ

CTA-THE BEST QUALITY CHAIR _

และนี่คือวิธีการจัดโต๊ะทำงานเพื่อห่างไกลจาก ออฟฟิศซินโดรม ถึงแม้เราจะหลีกเลี่ยงการปวดกล้ามเนื้อระหว่างทำงานไม่ได้ แต่เราสามารถเลือกสินค้าที่ช่วยซัพพอร์ตร่างกายเราได้ เพราะฉะนั้น อย่าปล่อยจนสายเกินแก้ การลงทุนในตัวเองนั้นคุ้มที่สุด เพราะเมื่อเราลงทุนกับตัวเองแล้ว ผลงานที่ดีก็จะตามมาเอง แล้วคุณจะรู้สึกดีกับการจัดโต๊ะทำงานเมื่อไม่มีอาการปวดหลังมากวนใจแน่นอน

Latest posts

SEE ALL